1.1 แบบจำลองอะตอม

Preview

สามารถดาวน์โหลดเอกสารสำหรับทดลองเรียนได้ที่นี่ครับ

มีคำถามอะไร พิมพ์ถามได้ใน Comment เลยนะครับ

สรุป Timeline แบบจำลองอะตอมและการค้นพบอนุภาคอิเล็กตรอน โปรตอนและนิวตรอน

การทดลองของโกลสไตน์ – การค้นพบรังสีบวก
ใช้หลอด Canal Ray Tube ประกอบด้วย 2 ส่วน มีแผ่นโลหะเป็นขั้วแคโทด (-) และขั้วแอโนด (+) ภายในบรรจุโมเลกุลของแก๊สเอาไว้ตรงกลางระหว่างขั้วทั้งสอง
เมื่ออิเล็กตรอนออกจากขั้วแคโทดไปชนกับโมเลกุลของแก๊สทำให้เกิดอนุภาคที่มีประจุบวกพุ่งมายังขั้วแคโทด เรียกว่า รังสีแคแนล
การทดการทดลองของทอมสัน – การเลี้ยวเบนของรังสีแคโทดในสนามแม่เหล็ก 1
ภายในหลอดรังสีแคโทดเป็นสุญญากาศ เมื่อนำแท่งแม่เหล็กเข้ามาใกล้กับเส้นรังสี จะเกิดการเลี้ยวเบนของรังสี
และเมื่อนำขั้วลบของแท่งแม่เหล็กเข้าใกล้เส้นรังสีทำให้เส้นรังสีเบนออกจากแท่งแม่เหล็ก ดังนั้นอนุภาคในเส้นรังสีนั้นมีประจุลบเพราะเกิดแรงผลักระหว่างขั้วลบด้วยกัน
การทดการทดลองของทอมสัน – การเลี้ยวเบนของรังสีแคโทดในสนามแม่เหล็ก 2
ในวีดีโอนี้มีการติดตั้งสนามแม่เหล็ก (N-S) ตั้งฉากกับสนามไฟฟ้า (เราจะเห็นว่าในนาทีที่ 0:08 มีขั้วไฟฟ้าติดตั้งอยู่ด้านบนและล่างของหลอดทดลอง อยู่ตรงกลางระหว่างขั้ว N-S ของแม่เหล็ก) โดยมีทิศทางการเคลื่อนที่ของสนามแม่เหล็กจากขั้ว N ไปยังขั้ว S และเมื่อประยุกต์ใช้กฎมือซ้ายของเฟลมมิ่ง โดยให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางของมือซ้ายเหยียดให้ตั้งฉากกับนิ้วอื่นๆ
นิ้วชี้จะไปชี้ตามทิศทางของสนามแม่เหล็ก
นิ้วกลางจะชี้ไปยังทิศทางกระแสไฟฟ้าซึ่งสวนทางกับเส้นรังสีนั่นก็เพราะว่าเส้นรังสีนี้ประกอบด้วยอิเล็กตรอน (ทิศทางการไกลของกระแสไฟฟ้าจะตรงข้ามกับทิศทางการไหลของอิเล็กตรอน)
นิ้วหัวแม่มือแสดงทิศทางของการเคลื่อนที่ ซึ่งถ้าหากเราเพิ่มความเข้มของสนามแม่เหล็กขึ้น ทิศทางของเส้นรังสีจะเคลื่อนที่ขึ้น (0:54-1:04)

การทดการทดลองของรัทเธอร์ฟอร์ด – แผ่นทองคำและรังสีแอลฟา
นาทีที่ 2:06 – 2:48
อนุภาคแอลฟาถูกยิงออกจาก Source (แหล่งกำเนิด) และเข้าไปยัง Detector (อุปกรณ์ตรวจจับ) จะเห็นว่าอนุภาคของแอลฟาส่วนใหญ่จะทะลุเป็นไปเป็นเส้นตรง
ในบางครั้งถ้าอนุภาคแอลฟาเข้าไปใกล้นิวเคลียสของทอง (Gold nucleus) ก็จะเลี้ยวเบนออกเนื่องจากแรงผลักของขั้วไฟฟ้าที่เป็นบวกเหมือนกัน
และมีบางครั้งที่เกิดการชนกันอนุภาคแอลฟาจะกระเด็นกลับออกมา
Back to: